Last updated: 12 ก.พ. 2563 | 23819 จำนวนผู้เข้าชม |
สารอาหารเด็กเล็ก สำคัญต่อการเจริญเติบโต จำเป็นต่อพัฒนาการ เมื่อลูกรักผ่านพ้นวัย 6 เดือน ก็จำเป็นต้องเริ่มอาหารเสริม ที่นอกเหนือจากน้ำนม และช่วงวัย 1 - 3 ปีแรกของชีวิต ก็มีความสำคัญมาก ๆ สำหรับปัญหาน่าห่วงของเด็กไทย โดยเฉพาะเด็กเล็กวัยเตาะแตะอายุ 1-3 ปี คือการขาดวิตามินแร่ธาตุและการเจริญเติบโตไม่สมดุล ส่งผลให้เด็กเติบโตแคระแกร็น อ้วนเกิน-ผอมเกิน และไอคิวต่ำ
วิตามินแร่ธาตุ สารอาหารเด็กเล็กที่วัยเตาะแตะได้รับไม่เพียงพอ
จากการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 11 อาหารสุขภาพเพื่อชีวิต ในหัวข้อ "นมสำหรับเด็กเล็กกับภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต" มีการนำเสนอหัวข้อปัญหาที่พบในเด็กวัยเตาะแตะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยวิตามินแร่ธาตุที่พบว่าเด็กวัยเตาะแตะได้รับไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ได้แก่
แม้ว่าในแต่ละวัน ร่างกายเด็กมีความต้องการสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณน้อย แต่หากร่างกายขาดวิตามินแร่ธาตุอย่างต่อเนื่อง ก็ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ทั้งทางร่างกายและสมองของลูกน้อย ที่สำคัญ เด็กวัยเตาะแตะเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุดอีกช่วงหนึ่งของชีวิต สารอาหารเด็กเล็กจึงสำคัญมาก พ่อแม่จะละเลยไม่ได้
เด็กเล็กวัยเตาะแตะใช้พลังงานวันละ1,000 กิโลแคลอรี่
วัยเตาะแตะเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายเพิ่มขึ้นมาก เพราะเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นทั้งการเดินวิ่ง ปีนป่าย จึงเป็นวัยที่ใช้พลังงานประมาณวันละ 1,000 กิโลแคลอรี่ ในแต่ละวัน หากเด็กได้รับสารอาหารจำเป็นน้อยกว่าความต้องการที่กำหนด จะเป็นด้วยพฤติกรรมการกิน เช่น เลือกกิน กินน้อย กินยาก หรือเหตุจากความไม่มั่นคงทางอาหารของครอบครัว จะทำให้ภาวะโภชนาการเด็กขาดสมดุล
ลูกได้รับอาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี หรือไม่
ดร.อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์นักวิชาการหน่วยมนุษยโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รวบรวมงานวิจัยที่เคยมีในต่างประเทศมาสรุป เรื่อง ความไม่มั่นคงทางอาหารและโรคอ้วนในเด็ก ตีพิมพ์ในวารสารสาธารณสุขศาสตร์ปีที่ 48 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2561) กล่าวโดยสรุปว่า การเปลี่ยนแปลงสังคมในปัจจุบันที่ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ทำงานนอกบ้านทั้งคู่ และในครอบครัวที่ยากจน ไม่สามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็ก ผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาเตรียมอาหารให้ลูกเอง ส่งผลต่อคุณภาพอาหารของเด็ก เช่น เด็กอาจได้รับมื้ออาหารต่อวันลดลง กินผักผลไม้สดน้อยมาก ทำให้เกิดการขาดวิตามินแร่ธาตุในช่วงวัยนี้ และเด็กอาจได้รับอาหารทอดอาหารรสหวานมากขึ้น จึงมีโอกาสสูงมากที่จะทำให้เด็กได้รับพลังงานมากเกิน
วิธีป้องกันเด็กเล็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
แม่ต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีจัดอาหารมื้อหลักคือ อาหาร 5 หมู่วันละ 3 มื้อและอาหารว่างวันละ 2 มื้อ เพื่อให้ลูกได้รับพลังงานและสารอาหารต่าง ๆ อย่างเพียงพอ ผัก ผลไม้สดต้องมีให้ลูกกินทุกวัน และสร้างนิสัยการดื่มนมให้ลูกตั้งแต่เล็ก โดยตัวอย่างความรู้โภชนาการที่พ่อแม่มีลูกวัยเตาะแตะต้องรู้ เช่น
สารอาหารเด็กเล็กในแต่ละมื้อจึงต้องให้ลูกกินอาหารซึ่งมาจากแหล่งต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน รวมทั้งให้ลูกกินนมเป็นอาหารเสริม เพราะนมมีบทบาทสำคัญต่อการเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ เพราะโดยธรรมชาติแล้วนมเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เด็กวัยเตาะแตะต้องการ อาทิ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินบีสอง วิตามินเอแคลเซียม และฟอสฟอรัส สำหรับเด็กเล็กที่แพ้นมวัว สามารถเลือกดื่มนมอื่น ๆ หรือเสริมอาหารให้ครบ 5 หมู่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก theasianparent.com
27 ก.ย. 2563
31 ต.ค. 2563